สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
อย. เตือน อย่าหลงเชื่อวิธีการตรวจสอบน้ำ ลวงผู้บริโภคให้เข้าใจผิด หวังขายเครื่องกรองน้ำ
ผู้บริโภคร้อง บริษัทขายเครื่องกรองน้ำสาธิตการใช้เครื่องมือทดสอบน้ำ โดยมีลักษณะเป็นแท่งสแตนเลส 2 แท่งจุ่มลงในน้ำ อ้างน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำที่ผ่านการกรองจากเครื่องกรองน้ำบริษัทอื่นปนเปื้อนสิ่งสกปรก โดยเกิดตะกอนขุ่นหรือตะกอนแดง อย. เตือนอย่าหลงเชื่อการทดสอบดังกล่าว เพราะเป็นการสร้างความเข้าใจผิดเพียงเพื่อต้องการขายเครื่องกรองน้ำเท่านั้น
น.พ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคว่า มีผู้แทนบริษัทขายเครื่องกรองน้ำแห่งหนึ่ง ได้มาเสนอขายเครื่องกรองน้ำและได้สาธิตวิธีการตรวจสอบน้ำ โดยเปรียบเทียบน้ำที่ผ่านการกรองจากเครื่องกรองน้ำของบริษัทกับน้ำที่กรองจากเครื่องกรองน้ำบริษัทอื่นและน้ำดื่มบรรจุขวดยี่ห้อหนึ่ง โดยใช้เครื่องมือมีลักษณะเป็นแท่งสแตนเลส 2 แท่ง จุ่มลงในน้ำ ผลการทดสอบที่ปรากฏคือ น้ำจากเครื่องกรองน้ำที่บริษัทนำมาเสนอขายยังคงมีความใสเหมือนเดิม ส่วนน้ำจากเครื่องกรองน้ำบริษัทอื่นและน้ำดื่มบรรจุขวดยี่ห้อหนึ่งเป็นตะกอนขุ่นคล้ายโคลน
น้ำดื่ม |
อีกบทความ การ ทดสอบน้ำดื่ม TDS อย่างทำให้คนเข้าใจผิด TDS คืออะไร ?????
TDS(Total Dissolved Solids) คือ ปริมาณรวมของแร่ธาตุต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยจะวัดหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อลิตร(ppm)น้ำที่มีค่า TDS ต่ำ ก็หมายถึงมีแร่ธาตุต่างๆปะปนอยู่น้อย หรือมีความบริสุทธิ์สูง
การทดสอบนี้ เป็นการทดสอบเล่นๆง่ายๆ ไม่ได้มีการควบคุมตัวแปรอะไรมากมายนัก "และผลการทดสอบก็เพียงบ่งบอกถึงปริมาณแร่ธาตุในน้ำเท่านั้น" ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าน้ำนั้นๆมีประโยชน์ หรือมีโทษต่อร่างกายอย่างไรทั้งสิ้น ขอให้โปรดเข้าใจด้วย ตามที่มีผู้นำ “เครื่องมือทดสอบน้ำดื่ม” ที่เรียกว่า “ทีดีเอสมิเตอร์” (TDS Meter) ไปทำการสาธิตทดลองน้ำดื่มบรรจุขวดทั่วๆ ไป โดยเปรียบเทียบกับ “น้ำกลั่น” และ/หรือ น้ำที่ไร้เกลือแร่เพื่อจำหน่ายเครื่องมือทดสอบดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์น้ำที่ปราศจากเกลือแร่ของตน ได้สร้างความเข้าใจผิดเกิดความคิดที่สับสนจนตระหนกตกใจไปว่าน้ำดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายอยู่ทั้วไปนั้น จะปลอดภัยในการใช้ดื่มบริโภคได้หรือไม่
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเครื่องทดสอบ เครื่องดังกล่าวมีส่วนสำคัญประกอบด้วย ขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว ทำด้วยเหล็กขั้วหนึ่ง และทำด้วยอลูมิเนียมอีกขั้วหนึ่ง โดยมีตัวเปลี่ยนกระแสไฟตรงหรือดีซี (DC) ทั้งนี้ เพื่อให้ขั้วไฟฟ้าทั้ง 2 นี้ ทำหน้าที่เป็นเครื่องแยกสารละลายด้วยไฟฟ้าหรือเครื่องอิเล็กโทรไลซิส (Electrolysis)
เมื่อนำเครื่องทดสอบจุ่มลงไปในน้ำดื่มทั่วไป หรือน้ำอื่นใดก็ตามที่มีแร่ธาตุละลายอยู่แม้เพียงเล็กน้อย และไม่ว่าแร่ธาตุนั้นจะมีประโยชน์หรือมีโทษอย่างไรก็ไม่สำคัญ ครั้นเสียบปลั๊กให้ไฟฟ้าไหลผ่านน้ำดื่มนี้ ขั้วไฟฟ้าที่ทำด้วยเหล็กก็จะละลาย และทำปฏิกิริยากับน้ำ ทำให้เกิดตะกอนที่มีสีน้ำตาลแดงคล้ายสนิมเหล็ก ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า เหล็กไฮดรอกไซด์ ยิ่งทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้ำนั้นนานมากเท่าไร ก็จะมีตะกอนเกิดมากยิ่งขึ้นเท่านั้น เพราะตะกอนนี้เกิดจากการละลายของขั้วไฟฟ้าที่ทำด้วยเหล็กนั้นเอง ทำให้เห็นว่าน้ำดื่มที่เครื่องทดสอบนั้นจุ่มอยู่มีความสกปรกมากทั้ง ๆ ที่ความสกปรกนี้มีต้นเหตุมาจากขั้วไฟฟ้าของเครื่องทดสอบเอง พฤติกรรมเช่นนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าน้ำดื่มที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปสกปรกใช้ดื่มไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ในการทดสอบน้ำโดยเครื่องทดสอบนี้ ถ้าหากน้ำที่นำมาทดสอบเป็นน้ำกลั่นหรือน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุใด ๆ เจือปนอยู่เลยแม้แต่น้อย ไฟฟ้าก็จะไม่สามารถไหลผ่านน้ำที่นำมาทดสอบ ขั้วไฟฟ้าที่ทำด้วยเหล็กก็จะไม่ละลาย จึงไม่มีตะกอนเกิดขึ้นให้เห็น ดูเหมือนว่าน้ำนั้นสะอาดน่าดื่ม แต่ถ้าเติมเกลือแร่ เช่น เกลือแกง แม้เพียงเล็กน้อยให้ละลายลงไปในน้ำที่ใสนั้น ไฟฟ้าก็จะสามารถไหลผ่านน้ำใสได้ทันที และจะมีตะกอนสีน้ำตาลแดงคล้ายสีสนิมเหล็ก เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการทดสอบน้ำดื่มทั่ว ๆ ไป ตะกอนเหล็กที่ว่านี้จะละลายได้ในกรด เพราะฉะนั้นปริมาณของตะกอน จึงไม่สามารถบ่งบอกความสกปรกที่แท้จริงของน้ำที่นำมาทดสอบแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะ ขึ้นกับความเป็นกรดด่างของน้ำที่ใช้ทดสอบ อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับไฟฟ้าที่ทำด้วยเหล็กจะละลายออกมาได้นานมากน้อยเพียงใดด้วย
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับน้ำดื่ม น้ำดื่มที่ดีควรจะมีแร่ธาตุละลายอยู่บ้าง โดยมีปริมาณไม่มากไปกว่าที่องค์การอนามัยโลก หรือกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเอาไว้ นอกจากนี้ที่สำคัญที่สุด น้ำดื่มที่ดีจะต้องไม่มีจุลินทรีย์หรือสารเคมีที่มีพิษภัยหรือมีอันตรายต่อร่างกายของผู้บริโภค สำหรับน้ำกลั่นหรือน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุเจือปนอยู่เลย ตามปกติจะไม่ใช้ดื่มกัน แต่จะใช้เติมแบตเตอรี่หรือใช้ในห้องทดลองหรือโรงงานอุตสาหกรรม
ยังไม่เคยพบเห็นองค์กรใดในโลกนี้ที่ระบุคุณสมบัติของน้ำดื่มจะต้องปราศจากเกลือแร่โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ ไม่มีแร่ธาตุละลายปนอยู่เลยแม้แต่น้อย ซึ่งก็จะทำให้น้ำนั้นเป็นฉนวนไฟฟ้า และเมื่อทดสอบกับเครื่องทดสอบน้ำดื่มดังกล่าวมาข้างต้นก็จะไม่มีตะกอนเกิดขึ้น เท่าที่ทราบ นอกจากน้ำดื่มที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปแล้ว ยังมีน้ำแร่ซึ่งมีแร่ธาตุละลายปนอยู่มากกว่าน้ำดื่มธรรมดา และมีราคาแพงกว่าน้ำดื่มธรรมดาด้วย
วัดค่า EC ของน้ำกลั่นตราTESCO ได้ค่าความนำไฟฟ้า 0.0mS/cm
สรุป เครื่องทดสอบน้ำดื่ม “ทีดีเอสมิเตอร์” (TDSMeter) ดังกล่าวข้างต้น ไม่ควรนำมาใช้ในการทดสอบน้ำดื่มเพราะขั้วไฟฟ้าที่ทำด้วยเหล็กสามารถละลายออกมาได้เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้า ทำให้น้ำดื่มที่มีคุณภาพดีมีตะกอนเกิดขึ้นจากขั้วไฟฟ้านั้น นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความสับสนและความเข้าใจผิดในหมู่ประชาชน จนอาจเกิดความตกใจไม่กล้าดื่มน้ำที่จำหน่ายอยู่ทั่วไป
ส่วนน้ำดื่มที่ได้มาตรฐานควรมีค่า TDS ไม่เกิน 500 ppm
Conductivity/TDS ,,,,Electrical Conductivity sensors are used to measure the ability of water to carry an electrical current. Absolutely pure water is a poor conductor of electricity. Water shows significant conductivity when dissolved salts are present. Over most ranges, the amount of conductivity is directly proportional to the amount of salts dissolved in the water.The amount of mineral and salt impurities in the water is called total dissolved solids (TDS). TDS is measured in parts per million. TDS tell how many units of impurities there are for one million units of water. For example, drinking water should be less than 500 ppm,ข้อมูลจาก http://www.stevenswater.com/water_quality_sensors/conductivity_info.html
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ กด Like Fan Page
Tel : 081 562 5659
Email : kangenthai@gmail.com