วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

น้ำด่าง กับการปนเปื้อน อย. เตือนการทดสอบน้ำ

ทำไมเครื่องทำน้ำด่างคังเก้น จึงไม่ทดสอบด้วยวิธีนี้
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
อย. เตือน อย่าหลงเชื่อวิธีการตรวจสอบน้ำ ลวงผู้บริโภคให้เข้าใจผิด หวังขายเครื่องกรองน้ำ

ผู้บริโภคร้อง บริษัทขายเครื่องกรองน้ำสาธิตการใช้เครื่องมือทดสอบน้ำ โดยมีลักษณะเป็นแท่งสแตนเลส 2 แท่งจุ่มลงในน้ำ อ้างน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำที่ผ่านการกรองจากเครื่องกรองน้ำบริษัทอื่นปนเปื้อนสิ่งสกปรก โดยเกิดตะกอนขุ่นหรือตะกอนแดง อย. เตือนอย่าหลงเชื่อการทดสอบดังกล่าว เพราะเป็นการสร้างความเข้าใจผิดเพียงเพื่อต้องการขายเครื่องกรองน้ำเท่านั้น

น.พ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคว่า มีผู้แทนบริษัทขายเครื่องกรองน้ำแห่งหนึ่ง ได้มาเสนอขายเครื่องกรองน้ำและได้สาธิตวิธีการตรวจสอบน้ำ โดยเปรียบเทียบน้ำที่ผ่านการกรองจากเครื่องกรองน้ำของบริษัทกับน้ำที่กรองจากเครื่องกรองน้ำบริษัทอื่นและน้ำดื่มบรรจุขวดยี่ห้อหนึ่ง โดยใช้เครื่องมือมีลักษณะเป็นแท่งสแตนเลส 2 แท่ง จุ่มลงในน้ำ ผลการทดสอบที่ปรากฏคือ น้ำจากเครื่องกรองน้ำที่บริษัทนำมาเสนอขายยังคงมีความใสเหมือนเดิม ส่วนน้ำจากเครื่องกรองน้ำบริษัทอื่นและน้ำดื่มบรรจุขวดยี่ห้อหนึ่งเป็นตะกอนขุ่นคล้ายโคลน
เครื่องทำน้ำด่าง
น้ำดื่ม
รองเลขาธิการ ฯ กล่าวต่อไปว่า จากการตรวจสอบปรากฏว่าเครื่องทดสอบน้ำดังกล่าวเรียกว่าTDS Meter ประกอบด้วยอิเล็กโทรด ทำด้วยแท่งเหล็กและแท่งอลูมิเนียมจุ่มอยู่ในน้ำที่จะทดสอบ เมื่อต่อเข้ากับกระแสไฟฟ้าตรงจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่เรียกว่า Electrolysis ทำให้เกิดการละลายของเหล็กเป็นตะกอนแดงในน้ำที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ น้ำดังกล่าวอาจเป็นน้ำสะอาดที่สามารถดื่มได้อย่างปลอดภัยเช่น น้ำกรอง น้ำดื่มบรรจุขวด ซึ่งมีแร่ธาตุเจือปนอยู่บ้าง โดยจะเป็นตัวนำไฟฟ้าทำให้เกิดปฏิกิริยาดังกล่าวแต่ถ้าน้ำมีความบริสุทธิ์มาก เช่น น้ำกลั่นหรือน้ำที่ผ่านตัวกรองเพื่อเอาเกลือแร่ออกหมดแล้ว กระแสไฟฟ้าจะผ่านไม่ได้ จึงไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมีในการละลายของเหล็ก ทำให้ไม่มีตะกอนแดงปรากฏให้เห็น น้ำจึงใสเป็นปกติ ดังนั้น อย. จึงขอเตือนให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อกับการทดลองดังกล่าว เพราะผู้ทดลองมีความประสงค์ให้เกิดความเข้าใจผิดว่าน้ำประปาหรือน้ำดื่มบรรจุขวดไม่สะอาด เพียงเพื่อต้องการขายเครื่องกรองน้ำเท่านั้น ซึ่งหากน้ำดื่มบรรจุขวดผ่านการตรวจสอบจาก อย. ก็สามารถดื่มได้อย่างปลอดภัย โดยขอให้สังเกตที่ฉลาก ต้องมีฉลากภาษาไทย แสดงข้อความที่ถูกต้องครบถ้วน ระบุวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุและที่สำคัญมีชื่อผู้ผลิตที่ชัดเจน พร้อมเลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย.ข้อมูลจาก อย.

อีกบทความ การ ทดสอบน้ำดื่ม TDS อย่างทำให้คนเข้าใจผิด TDS คืออะไร ?????
TDS(Total  Dissolved Solids) คือ ปริมาณรวมของแร่ธาตุต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยจะวัดหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อลิตร(ppm)น้ำที่มีค่า TDS ต่ำ ก็หมายถึงมีแร่ธาตุต่างๆปะปนอยู่น้อย  หรือมีความบริสุทธิ์สูง

การทดสอบนี้ เป็นการทดสอบเล่นๆง่ายๆ ไม่ได้มีการควบคุมตัวแปรอะไรมากมายนัก "และผลการทดสอบก็เพียงบ่งบอกถึงปริมาณแร่ธาตุในน้ำเท่านั้น" ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าน้ำนั้นๆมีประโยชน์ หรือมีโทษต่อร่างกายอย่างไรทั้งสิ้น ขอให้โปรดเข้าใจด้วย ตามที่มีผู้นำ “เครื่องมือทดสอบน้ำดื่ม” ที่เรียกว่า “ทีดีเอสมิเตอร์” (TDS Meter) ไปทำการสาธิตทดลองน้ำดื่มบรรจุขวดทั่วๆ ไป โดยเปรียบเทียบกับ “น้ำกลั่น” และ/หรือ น้ำที่ไร้เกลือแร่เพื่อจำหน่ายเครื่องมือทดสอบดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์น้ำที่ปราศจากเกลือแร่ของตน ได้สร้างความเข้าใจผิดเกิดความคิดที่สับสนจนตระหนกตกใจไปว่าน้ำดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายอยู่ทั้วไปนั้น จะปลอดภัยในการใช้ดื่มบริโภคได้หรือไม่

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเครื่องทดสอบ เครื่องดังกล่าวมีส่วนสำคัญประกอบด้วย ขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว ทำด้วยเหล็กขั้วหนึ่ง และทำด้วยอลูมิเนียมอีกขั้วหนึ่ง โดยมีตัวเปลี่ยนกระแสไฟตรงหรือดีซี (DC) ทั้งนี้ เพื่อให้ขั้วไฟฟ้าทั้ง 2 นี้ ทำหน้าที่เป็นเครื่องแยกสารละลายด้วยไฟฟ้าหรือเครื่องอิเล็กโทรไลซิส (Electrolysis)

เมื่อนำเครื่องทดสอบจุ่มลงไปในน้ำดื่มทั่วไป หรือน้ำอื่นใดก็ตามที่มีแร่ธาตุละลายอยู่แม้เพียงเล็กน้อย และไม่ว่าแร่ธาตุนั้นจะมีประโยชน์หรือมีโทษอย่างไรก็ไม่สำคัญ ครั้นเสียบปลั๊กให้ไฟฟ้าไหลผ่านน้ำดื่มนี้ ขั้วไฟฟ้าที่ทำด้วยเหล็กก็จะละลาย และทำปฏิกิริยากับน้ำ ทำให้เกิดตะกอนที่มีสีน้ำตาลแดงคล้ายสนิมเหล็ก ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า เหล็กไฮดรอกไซด์ ยิ่งทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้ำนั้นนานมากเท่าไร ก็จะมีตะกอนเกิดมากยิ่งขึ้นเท่านั้น เพราะตะกอนนี้เกิดจากการละลายของขั้วไฟฟ้าที่ทำด้วยเหล็กนั้นเอง ทำให้เห็นว่าน้ำดื่มที่เครื่องทดสอบนั้นจุ่มอยู่มีความสกปรกมากทั้ง ๆ ที่ความสกปรกนี้มีต้นเหตุมาจากขั้วไฟฟ้าของเครื่องทดสอบเอง พฤติกรรมเช่นนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าน้ำดื่มที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปสกปรกใช้ดื่มไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ในการทดสอบน้ำโดยเครื่องทดสอบนี้ ถ้าหากน้ำที่นำมาทดสอบเป็นน้ำกลั่นหรือน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุใด ๆ เจือปนอยู่เลยแม้แต่น้อย ไฟฟ้าก็จะไม่สามารถไหลผ่านน้ำที่นำมาทดสอบ ขั้วไฟฟ้าที่ทำด้วยเหล็กก็จะไม่ละลาย จึงไม่มีตะกอนเกิดขึ้นให้เห็น ดูเหมือนว่าน้ำนั้นสะอาดน่าดื่ม แต่ถ้าเติมเกลือแร่ เช่น เกลือแกง แม้เพียงเล็กน้อยให้ละลายลงไปในน้ำที่ใสนั้น ไฟฟ้าก็จะสามารถไหลผ่านน้ำใสได้ทันที และจะมีตะกอนสีน้ำตาลแดงคล้ายสีสนิมเหล็ก เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการทดสอบน้ำดื่มทั่ว ๆ ไป ตะกอนเหล็กที่ว่านี้จะละลายได้ในกรด เพราะฉะนั้นปริมาณของตะกอน จึงไม่สามารถบ่งบอกความสกปรกที่แท้จริงของน้ำที่นำมาทดสอบแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะ ขึ้นกับความเป็นกรดด่างของน้ำที่ใช้ทดสอบ อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับไฟฟ้าที่ทำด้วยเหล็กจะละลายออกมาได้นานมากน้อยเพียงใดด้วย

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับน้ำดื่ม น้ำดื่มที่ดีควรจะมีแร่ธาตุละลายอยู่บ้าง โดยมีปริมาณไม่มากไปกว่าที่องค์การอนามัยโลก หรือกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเอาไว้ นอกจากนี้ที่สำคัญที่สุด น้ำดื่มที่ดีจะต้องไม่มีจุลินทรีย์หรือสารเคมีที่มีพิษภัยหรือมีอันตรายต่อร่างกายของผู้บริโภค สำหรับน้ำกลั่นหรือน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุเจือปนอยู่เลย ตามปกติจะไม่ใช้ดื่มกัน แต่จะใช้เติมแบตเตอรี่หรือใช้ในห้องทดลองหรือโรงงานอุตสาหกรรม
ยังไม่เคยพบเห็นองค์กรใดในโลกนี้ที่ระบุคุณสมบัติของน้ำดื่มจะต้องปราศจากเกลือแร่โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ ไม่มีแร่ธาตุละลายปนอยู่เลยแม้แต่น้อย ซึ่งก็จะทำให้น้ำนั้นเป็นฉนวนไฟฟ้า และเมื่อทดสอบกับเครื่องทดสอบน้ำดื่มดังกล่าวมาข้างต้นก็จะไม่มีตะกอนเกิดขึ้น เท่าที่ทราบ นอกจากน้ำดื่มที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปแล้ว ยังมีน้ำแร่ซึ่งมีแร่ธาตุละลายปนอยู่มากกว่าน้ำดื่มธรรมดา และมีราคาแพงกว่าน้ำดื่มธรรมดาด้วย
เครื่องทำน้ำด่าง
วัดค่า EC ของน้ำกลั่นตราTESCO  ได้ค่าความนำไฟฟ้า 0.0mS/cm
สรุป เครื่องทดสอบน้ำดื่ม “ทีดีเอสมิเตอร์” (TDSMeter) ดังกล่าวข้างต้น ไม่ควรนำมาใช้ในการทดสอบน้ำดื่มเพราะขั้วไฟฟ้าที่ทำด้วยเหล็กสามารถละลายออกมาได้เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้า ทำให้น้ำดื่มที่มีคุณภาพดีมีตะกอนเกิดขึ้นจากขั้วไฟฟ้านั้น นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความสับสนและความเข้าใจผิดในหมู่ประชาชน จนอาจเกิดความตกใจไม่กล้าดื่มน้ำที่จำหน่ายอยู่ทั่วไป
ส่วนน้ำดื่มที่ได้มาตรฐานควรมีค่า TDS ไม่เกิน 500 ppm

Conductivity/TDS ,,,,Electrical Conductivity sensors are used to measure the ability of water to carry an electrical current. Absolutely pure water is a poor conductor of electricity. Water shows significant conductivity when dissolved salts are present. Over most ranges, the amount of conductivity is directly proportional to the amount of salts dissolved in the water.The amount of mineral and salt impurities in the water is called total dissolved solids (TDS). TDS is measured in parts per million. TDS tell how many units of impurities there are for one million units of water. For example, drinking water should be less than 500 ppm,ข้อมูลจาก http://www.stevenswater.com/water_quality_sensors/conductivity_info.html

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ กด Like Fan Page
Tel    : 081 562 5659
Email : kangenthai@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เครื่องทำน้ำด่าง น้ำด่างกับโรคไต water and renal disease

คำถาม คนป่วยโรคไตควรดื่มน้ำในปริมาณเท่าไรต่อวัน ?

คำตอบ น้ำ ในที่นี้หมายถึงน้ำที่เป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่นน้ำแกงจืด น้ำหวาน และน้ำที่ใช้ดื่มรวมกัน คนปกติมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในช่วงวันละ 400-3,000 มิลลิลิตร หรือโดยเฉลี่ยวันละประมาณ2,000 มิลลิลิตร ปัสสาวะของคนปกติจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณน้ำที่ดื่ม ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคไตอักเสบหรือโรคไตวายเรื้อรังที่ยังไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจมีปริมาณปัสสาวะปกติหรือมากกว่าปกติเล็กน้อยก็ได้ ผู้ป่วยระยะนี้จะไม่มี อาการบวม จึงไม่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ โดยทั่วไปสามารถบริโภคน้ำได้ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีความรุนแรงของโรคไตมากขึ้น (ค่าครีอะตินีนในเลือดตั้งแต่ 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป)หรือผู้ป่วยที่มีอาการบวมตามตัวแล้วไตไม่สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณปัสสาวะให้มากน้อยตามปริมาณน้ำดื่มได้เช่นคนปกติ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะหลังนี้จำเป็นต้องปรับน้ำดื่มให้มากน้อยตามปริมาณปัสสาวะที่ออกได้จริงแทน
ขอเน้นว่าผู้ป่วยที่มีไตวายรุนแรงจะมีปริมาณปัสสาวะไม่สัมพันธ์กับจำนวนน้ำที่ดื่มในแต่ละวัน ผู้ป่วยโรคไตแต่ละรายจึงต้องปรับปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และมีข้อจำกัดในการดื่มน้ำไม่เท่ากัน ขอให้ยึดหลักง่ายๆ ว่า ถ้ายังปัสสาวะได้มากก็ดื่มน้ำได้มากถ้าปัสสาวะได้น้อยก็ต้องจำกัดน้ำดื่มลงมิฉะนั้นอาจเกิดอาการบวมอย่างรุนแรง หรือเกิดอาการน้ำท่วมปอดได้

     การดูว่ามีปัสสาวะมากหรือน้อยต้องใช้วิธีวัดปริมาตรปัสสาวะ 24 ชั่วโมง 
แล้วปรับปริมาณน้ำดื่มให้มากน้อยตามกันไป ไม่ควรใช้วิธีนับจำนวนครั้งของการถ่ายปัสสาวะ หรือคะเนเอาเองจากเวลาที่ใช้ถ่ายปัสสาวะ เช่น ถ้าผู้ป่วยบางรายถ่ายปัสสาวะได้รวม 1,000 มิลลิลิตรต่อวัน ก็อนุมานว่าผู้ป่วยควรบริโภคน้ำได้ไม่เกิน 1,000มิลลิลิตรต่อวัน ด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาขับปัสสาวะกระตุ้นให้มีปัสสาวะเพิ่มขึ้น ก็อาจดื่มน้ำได้เพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่เกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น  ผู้ป่วยบางรายถ้ารับประทานยาขับปัสสาวะแล้ว ไม่ได้ปัสสาวะเพิ่มขึ้น ก็ไม่ควรทาน
ยาขับปัสสาวะต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เพราะอาจมีผลเสียต่อร่างกายได้ ควรประเมินหาปริมาณน้ำที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้  โดยดูจาการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วภายใน ช่วงเวลาไม่กี่วัน แสดงว่าผู้ป่วยบริโภคน้ำมากไปหรือน้อยไปตามลำดับ ควรค่อยๆ
ปรับปริมาณน้ำให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม โดยพิจารณาควบคู่กับปริมาณปัสสาวะที่ขับออกและค่าน้ำหนักตัวในแต่ละวัน

เมื่อเป็นไตวายเรื้อรังจะทำอย่างไร
การรักษาไตวายเรื้อรังอาจแบ่งง่ายๆ เป็น 2 ประเภท คือ การรักษาแบบประคับประคอง และการบำบัดทดแทนไต
  การรักษาแบบประคับประคอง
สามารถช่วยชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไตได้ ถ้าเริ่มรักษาตั้งแต่ไตวายเรื้อรังระยะแรก การรักษามีดังต่อไปนี้
1. การรักษาที่ไม่ใช้ยา ประกอบด้วย
     1.1 การควบคุมอาหาร
  ปริมาณอาหารที่ได้รับควรให้พลังงานประมาณ 35 - 40 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน แต่จะต้องจำกัดประมาณสารอาหารบางชนิดดังนี้
โปรตีน
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะก่อนที่จะต้องรับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต ควรได้รับโปรตีนปริมาณต่ำ คือ 0.6 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน หรือโปรตีนปริมาณต่ำมาก คือ 0.4 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน ร่วมกับการรับประทานกรดอะมิโนจำเป็น หรือกรดคิโต เสริมวันละประมาณ 10 กรัม
ฟอสฟอรัส
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นมสด เมล็ดพืช เป็นต้น โดยควบคุมปริมาณฟอสฟอรัสให้น้อยกว่า 600 มิลลิกรัมต่อวัน
ไขมัน
ควรจำกัดไขมันในอาหาร โดยให้ปริมาณโคเลสเตอรอลไม่เกิล 300 มิลลิกรัมต่อวัน
โซเดียมและโพแทสเซียม
ถ้ามีความดันโลหิตสูง หรือ บวม ควรจำกัดเกลือ โดยให้ปริมาณเกลือแกงน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน สำหรับโพแทสเซียมที่มีมากในผลไม้ ไม่จำเป็นต้องจำกัดในระยะแรก เพราะไตยังสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ดี ควรจำกัดโพแทสเซีมเมื่อมีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง หรือเมื่อเป็นไตวายระยะสุดท้าย โดยหลีกเลี่ยงผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ส้ม กล้วย เป็นต้น
 
     1.2 การควบคุมประมาณน้ำ
  ในไตวายเรื้อรังก่อนระยะสุดท้ายที่ปัสสาวะได้ปกติ และไม่มีอาการบวมไม่ต้องจำกัดน้ำ และควรดื่มน้ำประมาณ 2 ลิตรต่อวัน ควรจำกัดน้ำดื่มเมื่อมีอาการบวม หรือเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยดื่มน้ำปริมาณเท่ากับปริมาณปัสสาวะต่อวัน

    1.3 ออกกำลังกาย
        สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ตามปกติได้ แต่ควรหลีกเลี่ยง การออกกำลังกายอย่างหนัก
2. การรักษาด้วยยาประกอบด้วย
 
     2.1 ยาลดฟอสฟอรัสในเลือด
  ได้แก่ยาที่จับกับฟอสฟอรัสในลำไส้ เพื่อช่วยปรับระดับฟอสฟอรัสในเลือดให้ปกติ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมอะซิเตต เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาที่เป็นเกลืออะลูมินัมในระยะยาว เช่น อะลูมินัมไฮดรอกไซด์ เพื่อป้องกันการเกิดพิษจากอะลูมินัม
 
     2.2 ยาขับปัสสาวะ
  ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการบวม
 
     2.3 ยาลดความดันโลหิต
  ระดับความดันโลหิตที่เหมาะสมที่จะช่วยในการชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไต คือ ระดับปริมาณ 130/85 มิลลิเมตรปรอท แต่ทั้งนี้การควบคุมระดับความดันโลหิตที่เหมาะสม ต้องขึ้นกับสภาพและโรคอื่นๆ ของผู้ป่วยด้วย
 
     2.4 การให้ด่าง
  คือ โซเดียมไบคาร์บอเนต เพื่อช่วยแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด
(ในปัจจุบัน มีน้ำด่างที่สะอาดปลอดภัยไร้สารปนเปื้อนแล้ว จากเครื่องทำน้ำด่าง Enagic Kangen Water)

 
     2.5 ยาลดไขมันในเลือด
  ถ้าควบคุมอาหารแล้วยังมีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรใช้ยาลดไขมัยร่วมด้วย
 
     2.6 ยาอื่นๆ
  เช่น น้ำมันปลา การต้านเกล็ดเลือด ยากันเลือดแข็ง เป็นต้น การใช้ยาดังกล่าวจะมีประโยชน์เฉพาะไตวายเรื้อรังบางกลุ่มเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก หลายๆแห่งใน Internet

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ กด Like Fan Page
Tel    : 081 562 5659
Email : kangenthai@gmail.com
Fill out my online form.

เครื่องทำน้ำด่าง การรักษาดุลภาพกรดด่าง ph balance

กลไกการรักษาดุลยภาพ การควบคุมสภาวะกรด-ด่าง หลักๆในร่างกาย มีกลไกลทางสรีรวิทยาอยู่ 3 แบบคือ --ทางเคมี --ทางการหายใจ และทางไต

1. การควบคุมภาวะกรด – ด่างด้วยวิธีทางเคมี (chemical regulation of acid – base balance)

น้ำด่าง,ราคา
น้ำด่าง,ราคา
น้ำด่าง,ราคา

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บัฟเฟอริง (buffering) ระบบบัฟเฟอร์ (บัฟเฟอร์คือสารละลายกรดอ่อนหรือด่างอ่อนซึ่งสามารถลดการเปลี่ยนแปลงของ pH ในภาวะที่ได้รับกรดหรือด่างได้ ทำให้ pH เปลี่ยนแปลงไม่มาก เหมือนกับที่พบในการเติมกรดหรือด่างลงไปในน้ำเปล่า) จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด – ด่างของร่างกายไม่ให้รวดเร็วเกินไปกรด – เบส บัฟเฟอร์ ประกอบด้วยกรดอ่อนและด่างอ่อน เป็นคู่ๆ ซึ่งจะ แตกตัว(Ionized) ได้เกลือของกรด หรือด่างอย่างเดียวกัน ทำให้กรดแก่ หรือ ด่างแก่เจือจางลง

เลือดและของเหลวในเนื้อเยื่อประกอบด้วยสารเคมีเรียกว่า บัฟเฟอร์ ซึ่งจะทำปฏิกิริยากันโดยการเพิ่มกรดหรือด่างเข้าไปเพื่อจะเปลี่ยนปฏิกริยาหรือ pH ให้มีความเป็นกรดหรือด่างน้อยลงบัพเฟอร์เป็นเกลือซึ่งเป็นสัดส่วนของด่างแก่กับกรดอ่อน และบัพเฟอร์ที่สำคัญในเลือด คือ ไบคาร์บอเนต ฮีโมโกลบิน และ พลาสมาโปรตีน นอกจากนี้ยังมีฟอสเฟตซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการปรับค่ากรด - ด่างในน้ำปัสสาวะ ดังได้กล่าวมาแล้วว่า กรดแก่จะให้ไฮโดรเจนไอออนมากในสารละลาย กรดอ่อนจะให้น้อยลง ถ้ากรดแก่ถูกรวมกับบัฟเฟอร์ก็จะเกิดเป็นเกลือกับกรดอ่อนขึ้น ซึ่งจะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออนที่มีความเข้มข้นน้อยลงหรืออีกนัยหนึ่งก็คือกรดแก่ได้ถูกบัพเฟอร์ไปแล้ว

โซเดียมไบคาร์บอเนตซึ่งจะมีอยู่ในเลือดจะบัฟเฟอร์กับอนุพันธ์กรดได้ เช่น แลคเทต (lactate) ฟอตเฟต และซัลเฟต ซึ่งมีความเป็นกรดแก่มากกว่าคาร์บอเนตส่วน กรดคาร์บอนิก (H2CO3) เป็นกรดอ่อนและจะให้ไฮโดรเจนไอออนจำนวนน้อย เมื่ออยู่ในสารละลายฮีโมโกลบิน และพลาสมา โปรตีนก็ทำหน้าที่เป็นบัพเฟอร์ไ ด้เช่นเดียวกัน

ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำในเนื้อเยื่อ โดยการเมแทบอลิซึมของเซลล์จะถูกบัพเฟอร์และขับออกไปได้หลายๆทาง เช่น กรดแลกติก ซึ่งเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อจะถูกเปลี่ยนกลับเป็นไกลโครเจนในตับ เป็นต้น ส่วนฟอสเฟต ซัลเฟต และคลอไร ด์ จะถูกขับออกทางไต คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งผลิตจากเซลล์อยู่ตลอดเวลาจะถูกขับออกทางปอด ซึ่งจะทำให้การควบคุมภาวะสมดุล กรด - ด่าง เป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น

2. การควบคุมภาวะสมดุลกรด - ด่างโดยการหายใจ (respiratory regulation)
น้ำด่าง,ราคา

คาร์บอนไดออกไซด์ จะรวมกับน้ำได้เป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งเป็นกรดอ่อน
ดังสมการ CO2 +H2O -----> H2CO3

แม้ว่า H2CO3 จะแตกตัวได้ง่ายและให้ไฮรโดรเจนไอออนจำนวนน้อยก็ตาม แต่ก็มีอยู่เป็นปริมาณมากในร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะกรดได้มากเช่นเดียวกัน ดังนั้น คาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้ออกมาจะถูกขับออกอย่างรวดเร็ว โดยการเพิ่มอัตราการหายใจ ดังนั้นกรดคาร์บอนิกซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดไฮโดรเจนไอออนในเลือด ก็จะถูกกำจัดออกไปได้อย่างรวดเร็ว ศูนย์ควบคุมการหายใจในเมดัลลา จะมีความไวมากต่อคาร์บอนไดออกไซด์และความเป็นกรดของเลือด ถ้ามีการเพิ่มขึ้นของอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างก็จะทำให้มีการหายใจเพิ่มขึ้นเพื่อจะทำให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น

3. การควบคุมโดยไต (excretion by kidney) แม้ว่าไตจะช่วยการปรับภาวะกรด - ด่าง ได้ไม่รวดเร็วเท่ากับบัฟเฟอร์ของเลือดและการหายใจก็ตาม แต่การปรับทางไตก็เป็นกลไกสำคัญในการรักษาภาวะสมดุลของกรด - ด่างของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพมากที่สุด
น้ำด่าง,ราคา
ไตจะสามารถควบคุม กรด - ด่าง โดยระบบบัฟเฟอร์ โดยการขับแอมโมเนียซึ่งมีอยู่ 3 วิธี ในการที่จะช่วยรักษา pH ของน้ำภายนอกเซลล์ไว้ได้ ดังนี้ คือ

1. ไตจะขับ HCO3-

2. โดยการแลกเปลี่ยน Na+ กับ H+ โซเดียมไอออนจะถูกดึงกลับในท่อไตซึ่งจะแลกกลับ H+ และ H+ จะถูกขับออกทางปัสสาวะซึ่งเป็นกรด ดังนั้นน้ำภายนอกเซลล์จะมีความเป็นกรดน้อยลง

3. ไตจะสามารถสร้างแอมโมเนียได้ซึ่งเมื่อรวมกับ H + ได้เป็นแอมโมเนียไอออนในท่อไต ร่างกายจะมีแนวโน้มที่จะเกิดกรดได้ค่อนข้างมาก เพราะมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ และมีการคั่งของของเสียจากเมแทบอลิซึม นอกจากนี้ภาวะกรดอาจเกิดจากการขาดอาหารหรือ เบาหวานก็ได้ เนื่องจากการนำเอาไขมันมาใช้กรดจะถูกทำให้เจือจางลงโดยบัฟเฟอร์ ที่อยู่ในเลือดและของเหลว ในเซลล์หรือมีการเพิ่มอัตราและความลึกของการหายใจ ซึ่งจะขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากเลือด และท้ายสุดก็มีการขับกรดออกไปทางปัสสาวะโดยไตจนทำให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ

ภาวะเป็นด่างพบได้ค่อนข้างน้อย แต่อาจเกิดได้ถ้ามีการสียกรดจากกระเพาะอาหาร ในการอาเจียน หรือจากการกินอาหาร หรือยาที่เป็นด่าง เช่น การกินยาเคลือบกระเพาะ ในการรักษาโรคกระเพาะ เป็นต้น กลไกของระบบบัฟเฟอร์ จะทำงานตรงกันข้ามกับภาวะเป็นกรด คือ การหายใจก็จะถูกกด คาร์บอนไดออกไซด์ก็จะคั่ง และไฮโดรเจนไอออนก็จะเพิ่มขึ้น ไตก็จะขับปัสสาวะที่เป็นด่างออก ร่างกายก็จะกลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติ

ในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง กลไกของบัฟเฟอร์ทั้งสองชนิด นี้ ก็จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง pH ของเลือดและของเหลวในเนื้อเยื่อจากปกติ คือ pH 7.4 แต่ในคนที่เป็นโรค การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้นได้ และสามารถที่จะทำให้เป็นอันตรายถึงตายได้ ถ้าไม่มีการแก้ไข และรักษาไว้ทันท่วงที
ขอบคุณ...บทเรียนออนไลน์
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ กด Like Fan Page
Tel    : 081 562 5659
Email : kangenthai@gmail.com
Fill out my online form.

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แพทย์ แนะนำให้ดื่มน้ำด่างเพื่อสุขภาพ What Dr say?

 เครื่องทำน้ำด่าง Enagic Kangen ราคาคุ้มค่า จากญี่ปุ่น ล้างกรด สารพิษ มะเร็ง ลดอ้วนในร่างกายด้วยน้ำด่าง น้ำคังเก้น


น้ำด่าง ราคา
The Seven Pillars of Health ...Dr.Don Colbert
7 เสาหลักในการดูแลสุขภาพ

1. ดื่มน้ำด่าง วันละ 5-8 แก้ว


2. หลับให้สนิท 7-9 ชั่วโมงต่อวัน


3. เลือกทานอาหารสด(เช่นผักดิบ ไม่ผ่านการปรุง) อย่าทานอาหารที่ตายแล้ว ไม่มีเอนไซม์

4. ออกกำลังให้น้ำในร่างกายเคลื่อนไหว และช่วยให้ระบบน้ำเหลืองทำงานดี ควรดื่มน้ำด่างก่อน ระหว่าง หลัง

5. ดีท๊อก ล้างพิษ ซึ่งน้ำด่างเป็นสิ่งสำคัญ มีผลดีที่สุดกับร่างกายในการล้างพิษ

6. แร่ธาตุอาหารเสริมร่างกาย น้ำด่างช่วยในการดูดซับแร่ธาตุอาหารเสริมได้ดี

7. ขจัดความเครียดทั้งหมดเพราะมันจะฆ่าคุณ น้ำด่างจะช่วยล้างพิษกรดที่เกิดจากความเครียดได้


น้ำด่าง ราคา

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ กด Like Fan Page
Tel    : 081 562 5659
Email : kangenthai@gmail.com
Fill out my online form.

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

น้ำด่าง-กรด จากเครื่องทำน้ำด่าง pH plant

คำเตือน ...น้ำด่าง น้ำกรด จากเครื่องทำน้ำด่าง Enagic Kangen Water จากญี่ปุ่นนั้น ก่อนนำไปรดต้นไม้ก็ดูก่อนนะครับ พืชหลายชนิดไม่ชอบน้ำด่าง ส่วนมากชอบเป็นกรดอ่อนๆ เตือนไว้ก่อนอย่าน้ำด่างที่เครื่องทำไว้ดื่ม ซึ่ง pH 8.5-9.5 ไปรดแทนน้ำปรกติ ถ้านำไปรดก็ใช้น้ำบิวตี้ pH 5.5-6.0 pH ที่เหลือออกมาจากการทำน้ำด่างคังเก้นที่เราใช้ดื่มน่าจะพอดี   ร่างกายคนเราก็เช่นกัน ต้องเลือกที่ดื่มน้ำ ที่ค่ากรดด่าง pH ที่เหมาะสม น้ำด่างที่เหมาะสำหรับดื่มที่สุดคือ 8.5-9.5 pH

สำหรับค่าความเป็นกรดด่าง pH ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด ตามหลักการวางแผนเพาะปลูกพืชเบื้องต้น งานชิ้นแรกๆ ที่ควรทำคือการเก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทราบถึงข้อมูลเชิงลึกของปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่นดิน น้ำ อุณหภูมิ ช่วงแสง กระแสลม สำหรับดินที่ปัจจัยการผลิตพื้นฐาน ในบ้านเราน่าจะประเมินได้ว่าร้อยละ 99 มักมองข้ามการตรวจวิเคราะห์ก่อนลงมือวางแผนการเพาะปลูก การวิเคราะห์ดินทำให้เราสามารถทราบถึงความได้เปรียบและข้อบกพร่องพร้อมแนวทางแก้ไข ก่อนจะมีการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชชนิดหนึ่ง ค่าที่เป็นพื้นฐานที่ควรรู้เช่น pH โครงสร้างดิน ปริมาณธาตุอาหารต่างๆ ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเป็นต้น หน้านี้ผมไปเก็บ pH ที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของผักและผลไม้บางชนิด เผื่อใครจะใช้อ้างอิงก็ตามสบายเลยครับ
พืช
ค่ากรดด่าง
พืช
ค่ากรดด่าง
กระเจี๊ยบ
6.0-6.5
ผักกาดหัว
6.0-7.0
กระเจี๊ยบเขียว
6.0-6.8
ผักสลัด
6.0-7.0
กล้วย
6.5-7.0
เผือก
5.5-6.5
กะหล่ำดอก
6.0-7.0
ฝ้าย
5.5-6.5
กะหล่ำปลี
6.5-7.0
พริก
5.5-7.0
กุยช่าย
6.0-7.0
พริกไทย
6.5-7.0
กาแฟ
4.5-5.4
ฟัก
6.0-7.5
ข้าว
4.5-5.4
ฟักทอง
5.5-7.5
ข้าวโพด
5.5-7.0
มะกอก
< 4.5
ข้าวฟ่าง
5.5-7.0
มะเขือ
5.5-6.5
ข้าวสาลี
4.5-5.4
มะเขือเทศ
6.0-6.8
ขนุน
5.5-7.5
มะดัน
< 4.5
คื่นช่าย
6.0-7.0
มะนาว
5.5-6.4
แคนตาลูป
6.0-6.5
มะม่วง
5.5-6.4
แครอท
4.5-5.4
มันเทศ
5.3-5.7
ชา
4.5-5.4
มันฝรั่ง
5.5-6.5
ชมพู่
6.5-7.0
มันสำปะหลัง
6.5-7.0
แตงกวา
5.5-7.0
ยางพารา
4.5-5.4
แตงโม
5.5-6.5
ยาสูบ
5.3-6.4
ถั่วฝักยาว
5.5-6.7
สตอเบอรี่
4.5-5.4
ถั่วแขก
5.5-7.0
ส้ม
4.5-5.4
ถั่วลิสง
5.5-6.4
ส้มโอ
5.5-7.0
ถั่วลันเตา
6.0-7.5
สับปะรด
4.5-5.5
ถั่วเหลือง
5.5-7.0
หญ้า
5.5-7.0
ทานตะวัน
6.5-7.0
หน่อไม้ฝรั่ง
6.0-8.0
ทุเรียน
5.5-6.5
หอมกินต้น
6.0-7.0
ปวยเล้ง
6.0-7.5
หอมหัวใหญ่
6.0-7.0
ปอ
6.5-7.0
หอมแดง
5.0-6.5
ปอเทือง
4.5-5.4
แห้ว
6.9-7.3
อ้อย
6.0-7.5

พืชด้านบนทำให้เราทราบว่าพืชแต่ละชนิดต้องการความเป็นกรดด่างในดินเพื่อการเจริญเติบโตต่างกันมาก พืชบางชนิดไม่เรื่องมาก สามารถเจริญเติบโตได้ในช่วง pH ที่กว้าง บางพืชก็จำเป็นต้องมี pH ในช่วงที่เฉพาะเจาะจง ถ้าดูตามข้อมูลด้านบน หากมีดินค่อนไปทางกรดนิดๆ ฟักทองเป็นพืช cash crop ที่น่าปลูกมาก หรือหากมีดินที่มีสภาพเป็นกลางหน่อไม้ฝรั่งก็น่าสนใจไม่น้อย การปรับปรุงค่า pH ให้เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช หากดินเป็นกรดแล้วต้องการปรับ pH ขึ้นจะง่ายและมีต้นทุนถูกกว่าการปรับดินที่มี pH สูงให้ต่ำลงครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก.. น้าโหด blogGang
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ กด Like Fan Page
Tel    : 081 562 5659
Email : kangenthai@gmail.com
Fill out my online form.